ทำอย่างไรให้ขนมปังซาวโด ไม่เปรี้ยว ?

2 คลาสหลังที่สอน hybrid sourdough มี นร. ส่วนหนึ่งมาเรียนเพราะไม่ชอบขนมปังเปรี้ยว เหตุเพราะเคยทำทานเองแล้วเปรี้ยว หรือ เคยทานขนมปังบางร้านแล้วเปรี้ยว ทำให้รู้สึกไม่ชอบขนมปังชนิดนี้ ตรงนี้น่าจะเป็นสาเหตุให้หลายคน ฝึกทำขนมปังจากน้ำหมักจากผลไม้ พืช ผัก ที่มีความหวานมาช่วยลดเปรี้ยวแทน sourdough เราจะตั้งคำถามแรกว่า สูตรที่ทำมีผสมแป้งโฮลเกรน เช่น โฮลวีท ไรย์ แป้งสเปลท์ หรือ อื่น ๆ ไหม เพราะ ที่เราเคยทำเอง หากผสมโฮลเกรนในปริมาณที่มากขึ้น ก็จะมีรสเปรี้ยวขึ้น ซึ่งเราเข้าใจว่าในโฮลเกรนมีสารอาหารมากกว่าแป้งขาว จุลินทรีย์จึงเติบโตได้ดีกว่า ซึ่งทำให้มีแบคทีเรียเยอะขึ้น ความเปรี้ยวเลยมากขึ้น แต่ที่ต้องให้ความสำคัญคือเรื่องการหมัก เริ่มตั้งแต่ starter เท่าที่เจอหลายท่าน เพียงเริ่มต้น … Continue reading ทำอย่างไรให้ขนมปังซาวโด ไม่เปรี้ยว ?

Inoculation

[หลินเขียนเรื่องนี้ไว้ใน facebook ส่วนตัว แต่รู้สึกเป็นข้อมูลที่น่าสนใจ เลยนำมาไว้ใน blog นี้ด้วยค่ะ] Inoculation … พอดีวันก่อนเห็นโพสต์นึงในกลุ่มต่างชาติ คุยหัวข้อนี้ วันนี้เลยนึกอยากเขียนบ้าง Inoculation แปลเป็นไทย ว่า การฉีดวัคซีน การปลูกฝี (google translate) ดูคำอธิบายเพิ่มใน wikipedia ยังใช้กับการหมักด้วย เช่น เบียร์ ไวน์ และ แน่นอน ขนมปัง เวลาที่เราใช้ หัวเชื้อในการ feed starter หรือ การเตรียม levain เพื่อใช้ใน final dough เราจะมีอัตราส่วนของหัวเชื้อ ที่ใช้ … Continue reading Inoculation

The Art of Fermentation – 2 Days

The Art of Fermentation : Yeasted Bread ชั้นเรียนนี้เป็นความรู้ในการทำขนมปังขั้นพื้นฐาน ถึง ขั้นกลางที่มีขั้นตอนมากขึ้น เพื่อให้ขนมปังมีรสชาติและเนื้อสัมผัส ที่ดีขึ้น มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แต่ละขั้นตอนของการทำขนมปัง : การเตรียมวัตถุดิบ การนวด การหมัก การขึ้นรูป และ ทำความรู้จักกับชนิดของขนมปังที่หลากหลาย นอกจากภาคปฏิบัติ ยังมีภาคทฤษฎี ที่จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจสูตรขนมปัง เพื่อให้สามารถต่อยอด ปรับปรุงสูตร และ สร้างความพร้อมในการทำขนมปังขั้นสูงที่ต้องใช้เวลาและขั้นตอนที่ละเอียดซับซ้อนมากขึ้น ประเภทของขนมปังที่สอนในชั้นเรียน เน้นตามวิธีการผสม หมัก และ ชนิดของขนมปัง รวมถึงการใช้ไฟที่แตกต่างในการอบ ได้แก่– Hard Rolls (direct dough, lean … Continue reading The Art of Fermentation – 2 Days

Sourdough Bread Baking – 2 Days

Sourdough Bread Baking   ชั้นเรียนนี้เป็นความรู้ในการทำขนมปังยีสต์ธรรมชาติ จาก Sourdough Starter ทั้ง 2 รูปแบบ คือ Liquid และ Stiff ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ในภาคปฏิบัติวิธีการเตรียมและดูความพร้อมของ Starter และ Levainการใช้วัตถุดิบที่แตกต่างกันเทคนิคการนวด การควบคุมอุณหภูมิโดการหมัก การขึ้นรูป การกรีดผิวขนมปัง การอบ ที่ทุกขั้นตอนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ และ ส่งเสริมกันให้ได้มาซึ่งขนมปังที่เราถูกใจทั้งรสชาติ เนื้อสัมผัส รวมถึง ความหอมจากเปลือกขนมปังส่วน ภาคทฤษฏีเพื่อให้เข้าใจในยีสต์ธรรมชาติมากขึ้น การเพาะเลี้ยงยีสต์ การให้อาหาร การเก็บรักษายีสต์และ ความเข้าใจในสูตรขนมปัง เพื่อให้ผู้เรียนได้สามารถปรับปรุง พัฒนาต่อยอดสูตรของตัวเองได้สูตรขนมปังที่สอน เน้นเป็นขนมปังยีสต์ธรรมชาติแบบที่เหมาะกับรสนิยมของคนไทย ดังนี้Stiff Levain (Lievito … Continue reading Sourdough Bread Baking – 2 Days

100% Whole Wheat Bread Baking : Yeasted Bread – 2 Days

100% Whole Wheat Bread Baking : Yeasted Bread ชั้นเรียนนี้เป็นความรู้ในการทำขนมปัง 100% โฮลวีท ในแบบฉบับที่เป็นเอกลักษณ์ มีความแตกต่างจากวิธีการทำขนมปังชนิดอื่น ทำให้ได้ขนมปัง 100% โฮลวีทที่มีเนื้อสัมผัสนุ่ม ทานง่าย และ มีรสชาติที่ถูกใจ ผู้ทานจึงได้รับความสุขจากการทานขนมปังเพื่อสุขภาพมากขึ้น ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ทั้งภาคปฏิบัติ และ ภาคทฤษฎีที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อที่จะสร้างความเข้าใจสูตรขนมปัง และสามารถที่จะพัฒนารสชาติ ปรับปรุง ดัดแปลงสูตรจากขนมปังขาวเป็น 100% โฮลวีท หรือ คิดค้นสูตรขนมปังของตัวเอง สูตรขนมปังที่สอน ได้เลือกสรรมาอย่างดี จากสูตรของ Lynn Loaf ที่มีเอกลักษณ์แตกต่างกัน ในแง่ของวัตถุดิบ เนื้อสัมผัส รสชาติ รวมถึงได้คำชมเชยจากลูกค้า … Continue reading 100% Whole Wheat Bread Baking : Yeasted Bread – 2 Days

Baker’s Percentage with Preferment

สวัสดีค่ะ ครั้งก่อนเราได้ทำความรู้จัก Bread Formula สูตรขนมปังที่แสดง Baker’s Percentage หรือ Baker’s Math กันแล้ว วันนี้เรามาลงรายละเอียดเพิ่มกัน ในกรณีที่เราทำขนมปัง 2 ขั้นตอน หรือ Indirect dough (อ่านบทความเดิมได้ที่นี่ค่ะ https://lynnloaf.com/2018/02/06/bakers-math-bakers-percentage/) ในการทำขนมปัง 2 ขั้นตอน จะมีเรื่องของ Preferment มาเกี่ยวข้อง pre = ก่อน / ferment = หมัก / รวมกันก็คือ preferment คือ การหมักก่อน preferment ได้มาจากที่เรานำแป้งและน้ำบางส่วนจากสูตรขนมปัง มาหมักล่วงหน้า หลายชั่วโมงหรือข้ามคืน เมื่อพร้อมใช้งาน จึงนำมาผสมและนวดรวมกับวัตถุดิบที่เหลือ บางครั้งมีส่วนผสมอื่น เช่น นม น้ำตาล มาหมักร่วมด้วย ในที่นี้ เรายังไม่ลงรายละเอียดเรื่อง preferment กันนะคะ กลับมาเรื่องของสูตรขนมปัง เมื่อเราใช้ preferment ในสูตร วิธีง่าย ๆ ที่ส่วนใหญ่ใช้กัน จะมอง preferment เป็นวัตถุดิบอีกตัวหนึ่ง เช่นเดียว น้ำ เกลือ ยีสต์ เหมือนตัวอย่างนี้ วัตถุดิบ น้ำหนัก(กรัม) % แป้งขนมปัง 350 100% น้ำ 200 57.1% เกลือ 10 2.9% ยีสต์ 4.7 1.3% Poolish 300.3 85.8% รวม 865 247.1% ตารางนี้ ถ้าเราดู % ของ น้ำและเกลือ อาจจะประหลาดใจว่า ทำไมน้ำน้อย และ ใส่เกลือมาก การแสดง Baker’s Percentage … Continue reading Baker’s Percentage with Preferment

Baker’s Math (Baker’s Percentage)

หัวข้อนี้ ติดค้างอยู่ในใจว่าอยากเขียนใน blog มาพักใหญ่ เพิ่งมีเวลาได้นั่งหน้าคอมนาน ๆ Baker’s Math หรือ Baker’s Percentage เป็นสูตรขนมปัง ที่เป็น formula มากกว่า recipe ที่นี้ formula กับ recipe ต่างกันอย่างไร ลองดูตัวอย่างตามนี้ ตารางด้านล่าง แบบนี้หลินเรียกว่าเป็น Recipe วัตถุดิบ น้ำหนัก(กรัม) แป้งขนมปัง 500 น้ำ 350 เกลือ 10 ยีสต์ 5 แต่ formula ที่มี baker’s math ด้วย รูปแบบตารางจะถูกเรียกว่า Overall Formula มีคอลัมน์เปอร์เซ็นต์เพิ่มที่ด้านขวา และ บรรทัดสุดท้ายจะเป็นยอดรวม น้ำหนักโดว์ และ เปอร์เซ็นต์ วัตถุดิบ น้ำหนัก(กรัม) % แป้งขนมปัง 500 100% น้ำ 350 70% เกลือ 10 2% ยีสต์ 5 1% รวม 865 173% ก่อนจะอธิบายวิธีคิด baker’s math หลินขอพูดถึงประโยชน์ของเค้าก่อนนะคะ 1. ทำให้เราได้สูตรขนมปัง ด้วยวิธีชั่งน้ำหนัก ไม่ใช่การตักตวง เช่น ถ้วย ช้อนโต๊ะ ช้อนชา ซึ่งการชั่งน้ำหนักวัตถุดิบ จะทำให้ผลลัพธ์ขนมปังของเราออกมาคงที่มากกว่าการตักตวงด้วยภาชนะ ที่ในแต่ละครั้งเราอาจจะได้น้ำหนักไม่เท่ากัน 2. เราสามารถปรับปริมาณได้ตามที่เราต้องการ อยากจะอบขนมปัง 10 ชิ้น หรือ 100 ชิ้น สูตรขนมปังของเราก็ไม่เปลี่ยน 3. เป็นภาษากลางที่ใช้สื่อสารกันระหว่าง bakers เพื่อน ๆ นักอบขนมปัง อาจจะถามว่า ขนมปังเธอใช้แป้งอะไรกี่เปอร์เซ็นต์ … Continue reading Baker’s Math (Baker’s Percentage)

Hand Mix (Kneading)

วันนี้หลินรวบรวม คลิปวิดีโอการนวดโดด้วยมือมาฝากค่ะ สำหรับท่านที่เริ่มต้นทำขนมปังและยังไม่มีเครื่องนวด เหมือนช่วงปีแรก ที่หลินเริ่มขายขนมปัง ยังนวดมือและใช้เตาอบบ้านอยู่ มีโดหลากหลายชนิด ความนุ่มต่างกันตามปริมาณของเหลวในสูตร ทำให้ต้องใช้การนวดหลายวิธีให้เหมาะกับเงื่อนไขของโด คลิปที่เลือกมา จะเริ่มต้นจากโดที่นวดง่ายไม่เหลวมาก ไปจนถึงโดที่ยากขึ้น คลิปที่ 1 สำหรับโดปรกติ ที่เราทำขนมปังแซนวิชหรือโรลต่าง ๆ ที่ไม่ได้ใส่ของเหลวมากจนเกินไป วิธีการในคลิปที่เชฟอธิบายคือ 1. ให้พับโดกลับเข้ามา 2. ใช้ส้นมือนวด-ดันโดออกไป 3. หมุนโดไปอีกฝั่ง โดยที่การออกแรงนวด จะใช้น้ำหนักตัวเราช่วยจะได้นวดได้นานและไม่เมื่อย และ ในการหมุนโดเพื่อพับและนวดต่อ ให้หมุนฝั่งเดียวกันเสมอนะคะ คลิปที่ 2 คลิปนี้ ความนุ่มของโดจะใกล้เคียงกับคลิปแรก ในคลิปจะเริ่มตั้งแต่ผสมแป้ง เกลือ ยีสต์ น้ำ โดยที่ใช้ active dry yeast ผสมกับน้ำเพื่อกระตุ้นการทำงานของยีสต์ก่อน พอยีสต์ทำงานแล้วค่อยผสมในแป้งให้เข้ากัน ช่วงเริ่มต้นยังเป็นการผสมวัตถุดิบให้เป็นเนื้อเดียวกัน ให้แป้งทั้งหมดผสมกับน้ำ ใช้เวลาประมาณ 2 นาทีครึ่ง ส่วนวิธีการนวดในคลิป เค้าสาธิตให้ดูถึง 3 แบบ – แบบแรก จะเหมือนการยืดโดออกไปเยอะ ๆ พับส่วนปลายทั้ง 2 ข้างกลับมาตรงกลาง หมุนฝั่ง และ ทำการยืด พับ ซ้ำ – แบบที่สอง คล้ายคลิปแรก ที่พับและนวดดันออกไป – แบบที่สาม สำหรับโดที่นุ่มกว่าหรือมีส่วนผสมของไขมันเพิ่มเขึ้น เค้าใช้วิธีเรียกว่า slap & roll เป็นการจับที่ปลายของโดข้างหนึ่ง ฟาดโดอีกด้านไปข้างหน้า และ ม้วนโดเข้าด้วยกัน ในคลิปยังบอกวิธีตรวจสอบว่าเรานวดโดพอหรือยัง เมื่อเรานวดโดเสร็จแล้ว ปั้นเป็นทรงกลม เค้าจะมีความนุ่มและเด้ง ไม่เหนียวติดมือ และ ยังเช็ค windowpane โดยการแผ่โดออกได้เป็นแผ่นบาง ๆ หากโดแข็งแรงพอจะได้แผ่นฟิล์มบางใสและโปร่งแสงค่ะ บางวิธีการในคลิปนี้ อาจจะดูรุนแรงกับโดพอสมควร แต่สมัยที่ฝึกทำขนมปังใหม่ หลินดูคลิปของ The Bread Kitchen โดยคุณ Titli … Continue reading Hand Mix (Kneading)

Same dough, 3 baking methods.

สวัสดีปีใหม่ย้อนหลังนะคะ วันนี้อยากจะเขียนเรื่องราวต่อเนื่องจาก การทดลองครั้งก่อน ที่หลินลองทำ sourdough จากการหมักโด 2 แบบ ขึ้นรูปเป็น baguette และ อบในเตา 2 ชนิด คือ deck oven และ home oven แบบเพิ่ม baking stone และ steam ( คลิ้ก ที่นี่ เพื่อย้อนอ่าน) ในครั้งแรกที่ใช้เตาบ้าน มีหินสำหรับอบ และ ถาดใส่หินด้านล่างเพื่อสร้างไอน้ำ ถือว่าผลออกมาใช้ได้ พอรอถัดไปได้อบ country bread เลยทดลองกับเตาบ้านอีกครั้ง แต่รอบนี้มีความแตกต่างกันพอสมควร จากการทดลอง หลินพยายามหาจุดที่เราควรปรับปรุง สังเกตว่าการวาง baking stone อยู่ในตำแหน่งที่สูงเกิน ควรวางให้ต่ำลงเพื่อชะลอไม่ให้เปลือกเซ็ตตัวเร็วไป คิดว่าเตาบ้านน่าจะเหมาะกับการ proof โดให้นานขึ้นอีกหน่อย และ เน้นการกรีดให้ลึกขึ้น เพื่อช่วยให้ขนมปังขยายตัวในเตามากขึ้น อีกเรื่องที่ตั้งใจ คือ อยากให้ home baker ได้สามารถอบขนมปังออกมาให้ได้สวยงามเหมือน professional baker หลินจึงสั่งซื้อหม้อเหล็กหล่อ ที่เรียกว่า cast iron combination cooker หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า combo cooker มาลองดูการทำงานด้วยค่ะ หากท่านที่เคยศึกษาวิธีการใช้หม้อเหล็กแบบนี้ อาจจะใช้ dutch oven ที่มีลักษณะเหมือนหม้อก้นลึกพร้อมฝาปิด หรือ จะเป็นหม้อดินเผาก็ได้ค่ะ แต่หลินชอบ combo cooker เพราะ เราสามารถโหลดโดในฝั่งที่ตื้นกว่า โอกาสที่มือเราจะพลาดไปโดนหม้อที่ร้อนก็น้อยลง ในหม้อแบบนี้ ซึ่งถือว่า เราอบขนมปังในที่แคบมาก ความร้อนสูงภายในหม้อทำให้น้ำในโดถึงจุดเดือดและระเหยกลายเป็นไอน้ำและไม่มีทางออก จึงอบอวลอยู่ภายในช่วยชะลอการเซ็ตตัวของเปลือก ส่วนวัสดุที่เป็นเหล็กหล่อหรือดินเผาก็ร้อนมากถึง 250C ทั้งสองอย่างรวมกันจึงเหมือนการทำงานของ deck oven พอได้อุปกรณ์มาแล้ว จึงทดลองอบ country bread … Continue reading Same dough, 3 baking methods.

Experiment : Premix vs Autolyse

เมื่อวันศุกร์ที่ 1 ธ.ค. หลินทดลองอบ sourdough bread ตาม baker’s math ดังนี้ Overall Formula Bread flour 100% Water 70% Salt 2% โดยที่ตั้งใจปั้น baguette ขนาดเล็กที่อบในเตาบ้าน น้ำหนัก 200 g. จำนวน 4 ชิ้น จึงคำนวณได้สูตรขนมปังดังนี้ค่ะ (ไว้ค่อยมาอธิบายเรื่อง baker’s math หรือ baker’s formula กันอีกทีนะคะ) Bread flour 419 g. Water 217 g. Salt 9 g. *หลินใช้ดอกเกลือค่ะ Liquid levain 93 g. แต่วิธีการผสมแป้ง มี 2 วิธี จึงเตรียมวัตถุดิบ 2 ชุด Day 1 : Scaling ชุดหนึ่ง – overnight premix คือ ผสมแป้ง น้ำ เกลือ ทิ้งไว้ข้ามคืน วิธีนี้ จริง ๆ หลินก็ใช้อยู่ แต่ยังไม่เคยลองกับ sourdough bread พออ่านจากหนังสือ Open Crumb Mastery ของ Trevor J. Wilson ก็เลยอยากทดลองดู ตามตำราเค้าจะผสมและแช่ตู้เย็นก่อน แล้วค่อยนำออกจากตู้เย็นมาวางไว้ข้ามคืนก่อนนวดโด แต่บ้านเราร้อนกว่า ถ้าใช้ตามตำรา เกรงว่าวันถัดไปแป้งอาจจะกลายเป็นซุปเหลว ๆ เพราะการทำงานของ enzyme มากเกินไป จึงผสมและวางไว้ข้างนอก 1 ชั่วโมง แช่ตู้เย็น … Continue reading Experiment : Premix vs Autolyse

แนะนำ Baking Stone

สวัสดีค่ะ เมื่อวานนี้ที่หลินอบ Baguettes ด้วยเตาบ้าน เลยได้ลองใช้หินพิซซ่า (pizza stone หรือ baking stone) เป็นครั้งที่สอง แรก ๆ หลินใช้กระเบื้องปูพื้น ซึ่งมีปัญหาเรื่องขนาดไม่พอดีกับเตา และบางเกินไป ทำให้ไม่ร้อน ครั้งแรกที่ลองหินตัวนี้ มี oven spring ดี แต่ยังไม่มี ear เข้าใจว่าน่าจะมาจากการกรีดของตัวเอง เมื่อวานนี้เลยเน้นกรีดให้เอียงและลึกกว่าคราวแรก อบออกมาถูกใจเลยค่ะ ท่านที่ยังหา baking stone อยู่ ลองสั่งจาก link นี้ เป็นขนาด 12×15 นิ้ว ลองดูว่าเหมาะกับขนาดเตาอบหรือเปล่านะคะ http://www.lazada.co.th/12×15-pizza-stone-23657686.html?utm_source=Orderdelivered&utm_medium=Email&utm_campaign=LineItem (ไม่แน่ใจจะมีขายพร้อมส่งถึงเมื่อไหร่ หากท่านใดสั่งซื้อแล้วสินค้าหมด รบกวนแจ้งข้อมูลด้วยนะคะ) นอกจาก baking stone ที่วางไว้ชั้นกลาง ชั้นล่างยังมีถาดลองหิน จะเป็นหินปูทางเดิน หรือ lava rocks ก็ได้ ในรูปนี้หลินซื้อจากร้านขายของแต่งสวน ให้ preheat ทั้งหมด 1 ชั่วโมงก่อนอบ ส่วนการสร้าง steam หรือ ไอน้ำ หลินจะใช้น้ำร้อน ราดลงบนหินในถาดด้านล่าง หลังจากที่โหลดโดว์ลงบน baking stone เรียบร้อยแล้วค่ะ (รายละเอียดในวิธีการอบอื่น ๆ ยังไม่ได้เขียนในนี้ เพราะ วันนี้ตั้งใจจะมาแนะนำ link ที่ขายหิน ให้กับ baker ที่ใช้วิธีนี้เป็นอยู่แล้วนะคะ) แต่ทั้งนี้ พอมีอุปกรณ์ครบครัน ที่ขาดไม่ได้คือ ความเข้าใจเรื่องการหมัก และ ความชำนาญในการใช้สองมือของเราจัดการกับโด หากเราค่อย ๆ พัฒนา 2 เรื่องนี้ ขนมปังของเรามีแนวโน้มที่จะออกมาสวยงามอย่างแน่นอนค่ะ 😍 Continue reading แนะนำ Baking Stone

Designed dough temperature – DDT

ตอนเรียน (ที่ Cordon bleu) เวลานวดจะต้องเช็ค DDT (Desired dough temperature) ตลอด เพราะ ในห้องมีนักเรียน 12 คน หากต่างคนต่างนวดจนโดร้อนเย็นไม่เท่ากัน เชฟคงปวดหัวน่าดู เชฟเลยไม่ค่อยได้สอนดูโดเท่าไหร่ พอนวดจนอุณหภูมิถึงก็เอาออกมาพักเลย ช่วงที่ทำขนมปังโฮลวีทขาย เราไม่เคยวัดอุณหภูมิเลย ใช้วิธีดูโดและสัมผัสตลอด ซึ่งอยู่รอดปลอดภัยมาได้ 😝 แต่พอตอนทำขนมปังยีสต์ธรรมชาติขาย ได้ทบทวนความรู้จากหนังสือกองโต กลับมาพบว่า DDT มีความสำคัญจริง ๆ โดยเฉพาะกับขนมปังยีสต์ธรรมชาติ และ ขนมปังยีสต์ผงที่เป็น lean, rustic bread เคยเจอปัญหากับตัวเองหลายครั้ง ที่เกิดจากการไม่คุมอุณหภูมิให้ดี จนในที่สุดต้องยอมศิโรราบให้กับ DDT จริง ๆ คลาสขนมปังของเรา คงไม่ใช่ทฤษฎีแน่น แต่อะไรที่จำเป็นในการทำขนมปังออกมาให้ดีก็ขาดไม่ได้ เราเองไม่ใช่ทฤษฎีจ๋าอยู่แล้ว ชอบใช้ความรู้สึกกับสัญชาตญาณมากกว่า Continue reading Designed dough temperature – DDT